วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 15 คลุมบ่อขี้หมูด้วยผ้า HDPE

ระดับน้ำในบ่อขี้หมูต้องมีระดับสูงกว่าระดับพื้นดินถึงจะคลุมบ่อได้หรือให้ดีต่ำกว่าขอบบ่อสัก 50 เซนติเมตร จะได้ไม่ต้องเปลืองผ้าHDPE และการเกิดก๊าซชีวภาพจะไวขึ้น

การเตรียมการคลุมบ่อ ใช้รถแมคโครคันเล็ก ขุดร่องน้ำ กว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร ห่างจากขอบบ่อ 1-1.5 เมตร ให้รอบบ่อ


การเตรียมผ้าHDPE คลุมบ่อ ทางฟาร์มใช้ผ้าHDPE หนา 1 มิลลิเมตร
ช่างคลุมบ่อจะเตรียมตัดผ้ายาวตามความกว้างของบ่อเป็นชิ้นๆก่อน


จากนั้นจะเชื่อมต่อผ้าแต่ละแผ่นเข้าด้วยกันด้วยเครื่องซีนผ้า จนได้ผ้าผืนใหญ่เท่าๆ บ่อขี้หมู และจะเริ่มลากผ้าคลุมบ่ออีกทีหนึ่ง


เมื่อคลุมผ้าเสร็จจะฝังชายผ้าลงไปในร่องที่เราขุดรอไว้แล้ว โดยใช้รถแมคโครคันเล็กฝังกลบให้รอบ


หลังจากนั้นก็รอ รอให้แก็ซชีวภาพค่อยๆ สะสมและดันผ้าคลุมบ่อลอยขึ้นๆ


กว่าผ้าจะโป่งตึงเต็มบ่อ ใช้เวลาหลายสัปดาห์เลยทีเดียว เพราะบ่อมีขนาดใหญ่ราวๆ 6,000 ลูกบาศก์เมตร




วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 14 วางระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ

บ่อหมักก๊าซชีวภาพหรือบ่อขี้หมู ต้องวางระบบให้ดีก่อนที่จะคลุมบ่อ ซึ่งมีหลักสำคัญคือบ่อขี้หมูจะต้องสามารถชักกากขึ้นจากบ่อได้ ถ้าไม่สามารถทำได้บ่อจะตันในอนาคต ต้องเสียเวลารื้อบ่อ เสียเวลาการคลุมบ่อใหม่อีกครับ

บ่อขี้หมูที่ฟาร์มจะเป็น แบบสูบขี้หมูเข้าบ่อและใช้ความต่างระดับน้ำในบ่อเพื่อชักกากออก ดังนั้นขอบบ่อต้องสูงกว่าระดับพื้นดินปกติประมาณ 1.5 - 2.0 เมตร
งานนี้ใช้รถแมคโครในการปรับแต่งและเสริมขอบบ่อ


ระหว่างการให้รถแมคโครปรับแต่งและเสริมขอบบ่อ จะวางระบบท่อน้ำล้น คือท่อน้ำที่ใช้ควบคุมระดับความสูงของน้ำภายในบ่อขี้หมู ซึ่งปลายท่อข้างหนึ่งจะจุ่มในบ่อขี้หมูส่วนปลายท่ออีกข้างอยู่ในบ่อน้ำล้น แนวท่อจะวางระนาบกับพื้นดิน


วางระบบท่อเติมกาก (ท่อกลาง) วางแนวเอียงปลายยื่นลงบ่อไม่ต้องลึกมาก ส่วนปลายท่ออีกข้างให้โผล่บนขอบบ่อด้านบนซึ่งต่อไปเราจะก่อบ่อเติมกากบนบริเวณนี้
วางระบบท่อชักกาก (ท่อด้านข้าง) การวางจะต้องผ่าขอบบ่อให้ลึกเพราะท่อชักกากจะต้องวางให้ลึกเกือบถึงก้นบ่อ ส่วนปลายอีกด้านจะโผล่ที่ระดับพื้นดิน


ระบบท่อต่างๆ เมื่อต่อเสร็จแล้ว


ก่อบ่อเติมกากคลอบปลายท่อเติมกาก ส่วนบ่อด้านล่างคือบ่อรวมกากหรือบ่อรวมน้ำขี้หมูก่อนจะสูบขึ้นบ่อเติมกากอีกทีหนึ่ง


ก่อบ่อชักกากคลอบปลายท่อช้กกากบริเวณพื้นดิน ในอนาคตเมื่อระดับน้ำในบ่อขี้หมูสูงกว่าระดับพื้นดิน ด้วยความต่างของระดับน้ำจะดันขี้หมูก้นบ่อขึ้นมา





วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 13 เลี้ยงหมูรุ่นแรก

เมื่อทุกอย่างเสร็จหมดแล้ว ตอนนี้ฟาร์มพร้อมจะรับลูกหมูรุ่นแรกเข้าเลี้ยงแล้วครับ
คอกเลี้ยงผ่านการล้างและฉีดยาฆ่าเชื้อ 3 วัน ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ พร้อม


บ่ายโมงตรงรถขนส่งลูกหมูเดินทางมาถึงฟาร์ม เป็นลูกหมูจากฟาร์มแม่พันธุ์ที่แสลงพัน จ.สระบุรี บริเวณท่องเที่ยวทุ่งดอกทานตะวัน งัยครับ


ฟาร์มใหม่ต้องมีอุปสรรคอยู่แล้วครับ รถขนส่งลูกหมูติดหล่มเข้าไปไม่ถึงเล้าสิ จะทำอย่างไรดี ปล่อยให้ลูกหมูอยู่บนรถนานไม่ได้เดี๋ยวจะร้อนและไม่สบาย


ต้องเอารถกระบะมาถ่ายลูกหมูออกไป ขนได้ครั้งละ 20 ตัว เพื่อลดน้ำหนักบนรถขนส่งลูกหมูและจะได้ขึ้นจากหล่มได้


มาแล้วครับลูกหมูชุดแรกที่จะเข้าเล้าตัวเหลืองมาเชียวเหมือนคลุกขมิ้นมาเลย ดูแล้วแข็งแรงทุกตัว ร้องเสียงดัง พอเท้าแตะพื้นเล้าวิ่งกระจายทุกตัว


ขนถ่ายด้วยรถกระบะ 3 เที่ยว รถขนส่งลูกหมูดิ้นหลุดขึ้นจากหลุ่มมาได้และขับมาถึงหน้าเล้าจนได้


เดินทางมาไกลคงจะเหนื่อย ล้มตัวลงนอนกันเป็นกลุ่มๆ



ลูกหมูมาแล้ว ต่อมาก็อาหารลูกหมู ตามมาทีหลัง


เหนื่อยเลยครับ





วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 12 ระบบน้ำ

ทางเข้าฟาร์มมีประตูกั้น เมื่อเข้าไปแล้วจะแยกเป็นฟาร์มส่วนหน้าและฟาร์มส่วนหลัง จะมีแนวรั่วและโรงอาหาร บ่อจุ่มล้อ ก่อนเข้าฟาร์มด้านในเป็นส่วนของเล้าเลี้ยง



ระบบน้ำที่ฟาร์มจะแยกน้ำดื่มกับน้ำใช้ไม่ปนกันเพื่อป้องกันเรื่องโรคและเรื่องสะดวกในการให้ยาสุกรทางน้ำ น้ำดิบที่สูบขึ้นแท็งค์น้ำจะถูกผสมคลอลีนโดยปั๊มคลอลีนอัตโนมัติเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนลำดับแรก


ข้างเล้าจะมีแท็งค์น้ำดื่มขนาด 1000 ลิตร ตั้งบนหอสูงแยกไปแท็งค์ละเล้า ได้ต่อชุดท่อเติมยา (ชุดท่อสี่เหลี่ยม) เพื่อความสะดวกไม่ต้องปีนขึ้นไปผสมยาเทใส่แท็งค์


ระบบน้ำและบอลวาล์วจะอยู่ตำแหน่งใกล้ๆกัน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน  เปิด/ปิด
น้ำใช้คือ น้ำล้างคอก และน้ำคูลลิ่งแพค ส่วนน้ำดื่ม น้ำหยดถังอาหารใช้จากแท็งค์ข้างเล้า


ภายในบ่อของชุดน้ำคูลลิ่งแพค


ด้านหลังคูลลิ่งแพค มีปั๊มน้ำ 2 ตัว ตัวแรกเป็นปั๊มคูลลิ่งแพค และปั๊มอีกตัวเป็นปั๊มน้ำล้างคอก


ระบบน้ำหยดถังอาหาร ต่อน้ำจากดื่มจากแท็งค์ข้างเล้า


การเจาะสายน้ำเกลือเพื่อทำเป็นระบบน้ำหยดให้กับถังอาหาร






วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 11 บ่อรวมกาก แท็งน้ำ และบ้านพักคนงาน

มาถึงตอนนี้ฟาร์มใกล้จะเสร็จแล้ว ยังเหลือส่วนประกอบอีกนิดหน่อยเท่านั้นเอง ก็จะได้ต้อนรับหมูรุ่นแรกกันสักที

บ่อรวมกาก เป็นบ่อที่มีความสำคัญมาก จะเป็นบ่อที่รวมสิ่งปฏิกูลของเล้าทั้ง 3 ก่อนจะสูบลงบ่อหมักขี้หมูอีกทีหนึ่ง




เป็นบ่อซีเมนต์ผนังหนา 30 เซนติเมตร ขนาด 4 x 4 เมตร ลึก 4 เมตร ปริมาตรของบ่อต้องรองรับสิ่งปฏิกูลทั้ง 3 เล้าได้




พร้อมกันนั้นได้ทำรางหลังเล้ามาพร้อมกันเลย และการสูบขี้หมูไปบ่อหมัก ได้ใช้ปั๊มดูดโคลน 3เฟส 3 แรง ท่อออก 3 นิ้ว

แท็งค์น้ำจำนวน 6 ถัง บรรจุน้ำดิบได้ 15,000 ลิตร ตั้งอยู่ด้านหน้าฟาร์มและอยู่ใกล้กับบ่อน้ำบาดาล


หอแท็งค์น้ำสูง 6 เมตร ใช้เสาสำเร็จรูปและได้ผูกคานเทพื้นเพิ่มความแข็งแรง โครงสร้างรองรับแท็งค์น้ำใช้เหล็กรางน้ำหน้า 5 นิ้ววางเป็นคาน และ หน้า 3 นิ้ว วางเป็นแบ 


พื้นปูด้วยเหล็กแผ่นลายตีนเป็ด และมีโครงหลังคาเมทัลชีท


บ้านพักคนงาน 1 หลัง ( 2 ห้องนอน 1 ห้องโถง 1 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว) เพราะใช้คนงาน 1 ครอบครัวในการเลี้ยงสุกรขุน 3 เล้า





วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

บทที่ 10 ระบบไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้าที่ฟาร์มเลือกคือระบบไฟฟ้า 3 เฟส แต่การดำเนินขอไฟฟ้า 3 เฟสกว่าจะได้ต้องใช้เวลามากเลยทีเดียว


การไฟฟ้าจะดำเนินการระบบไฟฟ้าแรงสูง 3 เฟสมาถึงหน้าฟาร์มเท่านั้น ส่วนภายในฟาร์มได้จ้างผู้รับเหมาลงระบบไฟฟ้าแรงสูงพร้อมหม้อแปลง 3 เฟสให้ (ถูกกว่าจ้างการไฟฟ้า)


ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ (ไฟฟ้าผ่านหม้อแปลง) ได้ว่าจ้างผู้รับเหมามาลงระบบและติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า ATS (Automatic Transfer Switching)



เพื่อรองรับเครื่องปั่นไฟฟ้าในอนาคต และได้ติดตั้งตู้ ATS ที่อาคารเครื่องปั่นไฟฟ้าที่ก่อสร้างรอไว้อยู่แล้ว
ซึ่งตู้ATS จะทำหน้าที่ ตัดสลับไฟฟ้าหลวงกับไฟฟ้าเครื่องปั่นไฟฟ้าอัตโนมัติในการเลือกแหล่งของไฟฟ้าครับ



ลากสายไฟฟ้าออกจากตู้ ATS เข้าเล้า ตามรูปลากผ่านแท็งค์น้ำ ข้ามผ่านโรงอาหาร และเข้าเล้าที่ 2




ลากสายไฟฟ้าจนถึงหลังเล้าและค่อยแยกซ้าย ขวา ไปเล้า 1 และเล้า 3 ต่อไป


ติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้าในเล้า จะควบคุมพัดลมทั้ง 7 ตัว และระบบไฟฟ้า 220V สำหรับไฟแสงสว่างและปลั๊ก ภายในเล้า


 จะต้องติดตั้งปลั๊กไฟไว้ด้วย สำหรับใช้กับไฟกกลูกหมู ปั๊มน้ำล้างคอก ปั๊มน้ำของ Cooling pad

ติดตามความคืบหน้าของ สุกรทองฟาร์มได้ที่นี้